ยิง SensesIoT ใน3บรรทัด
ปิ้ว!ปิ้ว!ปิ้ว! IoT ที่ไครว่ายากแสนยาก ก็เกมได้แค่ใน 3 บรรทัด!!!
สำหรับไครที่หลงเข้ามาอย่าง ไม่รู้4รู้8 แล้วสงสัยว่าไอ้เจ้า www.sensesiot.com มันคืออิหยั๋งหว่า!? ถ้าอยากรู้แบบเต็มๆเน้นๆ ก็สามารถเข้าวาร์ปไปอ่านที่ IoT ไปกับ SENSES Platform ตอนที่ 1 โดยคุณ ณัฐวัฒน์ จันทร์สุข อธิบายแบบทุกอณู หากไครยังไม่มีก็เข้าไปสมัครแล้ว setup กันให้เรียบร้อยก่อนกลับมากันด้วยล่ะ…
เอาล่ะ! มาถึงจุดนี้ ทุกคนคงรู้จักแล้วว่า senses ก็คือ IoT platform as a services ที่จะทำให้คนทุกคนที่ไม่ว่าคุณจะเป็นไคร ก็สามารถที่จะทำให้ทุกสรรพสิ่งที่คุณมีนั้นเป็น IoT ได้อย่างง่ายดาย… แต่ขอโทษ พอดีจั่วหัวล่อเป้าเอาไว้แล้วว่า จะให้จบภายใน 3 บรรทัด ดังนั้นรับประกันดีกรีความง่ายเอาไว้เลย!
เห็นรูปแล้วก็คงจะรู้ว่ารอบนี้เรามากับภาษา Python ที่มีความยืดหยุ่น และเป็นภาษาที่จะเขียนให้ง่ายก็ง่าย จะเขียนให้ยากก็ยากได้ แถมข้อดีของมันก็คือรองรับระบบปฎิบัติการหลากหลาย ขอแค่เราต้องเตรียม hardware หรือ computer ที่ลง python พร้อมกับมี internet connection ไว้แล้ว เอาล่ะ! ในเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็ขอให้พับกบ! เอ้ย! พบกับ!
ผ่าม! เห็นไหมแค่นี้เอง 3 บรรทัด 🤪 เท่านี้เราก็สามารถยิงค่าขึ้น cloud ได้แล้ว! ถ้าหากไครยังงง มาลองฟังอธิบายกันทีล่ะบรรทัดกันเลยนะครัชช์
บรรทัดแรก จะเป็นการนำเข้า lib ที่เราจะใช้งานในที่นี้คือ requests ตัวเดียวเท่านั้นที่เราจะมาใช้จัดการกับ http request ที่จะเกิดขึ้นระหว่างเราและ senses platform
บรรทัดที่สอง พระเอกของเรา ทำการส่ง http request ของข้อมูลเรา ส่งขี้นไปแสดงทื่ dashboard ของเราที่ www.sensesiot.com โดยเราต้องใส่ param ต่างๆดังต่อไปนี้
- {user_id} : ให้ใส่ค่า ID ของเราที่นำมากจากหน้า Account information
- {device_key} : ให้ใส่ค่า key ของ device ที่นำมาจากหน้า My IoT garage
- {slot} : คือค่าของ slot บน dashboard ที่เราใส่เอาไว้ตอนสร้าง widget
- {value} : คือค่าของ data ที่เราจะส่งขึ้น senses iot platform นั้นเอง
บรรทัดสุดท้าย รับข้อความกลับจาก server ว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่ตอบกลับมาตรงนี้จะอยู่ในรูปแบบของ json payload
จบแล้ว 3 บรรทัด ไครที่อยากทักท้วงว่า บรรทัดเดียว ก็ทำได้เนี้ย ขอให้ใจเย็นๆ คุณอาจจะบอกว่าใช้ CURL แค่บรรทัดเดียวก็ออกแล้ว OK! ถ้าพูดแบบนั้นมันก็ถูก แต่! อยากจะให้ลองมองถึงการใช้งานจริงๆ ที่เราต้องมีการรับส่ง data และมีการตรวจสอบข้อผิดพลาด error checking ต่างๆ ซึ่ง script python ตัวนี้ถือว่าตอบโจทย์เลย ทั้งความเรียบง่ายและความยืดหยุ่น เราสามารถนำ code นี้ไปใช้งานร่วมกับ ระบบต่างๆที่เราสร้างขึ้นมาด้วย python ได้ทันที เช่น ระบบ smart farm ที่สร้างด้วย python และรันบน raspberry pi ก็สามารถใช้งาน senses platform ได้ทันทีโดยไม่ต้องมี hardware อื่นๆอีก หรือแม้กระทั่งระบบ data center ที่อยากจะทำรายงานค่าต่างๆของระบบให้ขึ้นโชว์บน dashboard อย่างสวยงาม ก็สามารถเขียน script ยิงขึ้นมาได้ทันทีเช่นกัน
ผมได้นำเสนออีกหนึ่งเครื่องมือที่จะทำให้ IoT เข้าใกล้กับชีวิตคุณชึ้นอีกนิดด้วย senses : IoT platform as a services ที่เหลือก็คงจะอยู่ที่จินตนาการของพวกคุณแล้วล่ะครับว่าจะเอาไปใช้ยังไง เครื่องมือน่ะพร้อมแล้ว คุณล่ะพร้อมหรือยัง?